top of page

Peritoneal Dialysis

การดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

slide16.jpg

Network Activity

          การพัฒนาเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่รับการรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่

   

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

          นโยบาย CAPD first policy ของรัฐบาล เริ่มมีผลตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2550 ส่งผลให้ ผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายที่ต้องรักษาด้วยการล้างไตทางช่องท้อง เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็ว และต้องการเข้าถึงบริการการรักษามากขึ้น  บุคลากรต้องเพิ่มภาระงานในการดูแลผู้ป่วย ประกอบการขาดแคลนบุคลากรที่มีความรู้ ความชำนาญและขาดทักษะ ทำให้การให้บริการ และการดูแลผู้ป่วยได้น้อย ไม่ครอบคลุม   จึงเกิดการกระจุกตัวของผู้ป่วยในโรงพยาบาลใหญ่มากแม้ว่าภูมิลำเนากระจายทั่วไป การดำเนินการการรักษาเป็นไปอย่างล่าช้า ไม่รองรับจำนวนผู้ป่วยที่มากขึ้น ผู้ป่วยต้องรอรับการรักษาเป็นเวลานาน ในบางรายมีอาการทรุดหนักจนถึงแก่ชีวิต ก่อนได้รับการรักษา  จึงมีความจำเป็นต้องสร้างและพัฒนาเครือข่ายอย่างเป็นขั้นตอน

วัตถุประสงค์ของการพัฒนาเครือข่าย

  1. เพื่อให้การบริการ การดูแลรักษาผู้ป่วยไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายเข้าถึง นโยบาย CAPD first policy ได้ครอบคลุม

  2. เพื่อให้การบริการเป็นไปอย่างรวดเร็ว ลดระยะเวลาการรอคิวการรักษา 

  3. เพื่อให้บุคลากรพยาบาลที่ให้การดูแลผู้ป่วยมีความรู้และทักษะ 

  4. เพื่อให้การบริการประสบความสำเร็จสูงสุดและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

  5. เพื่อให้การบริการครอบคลุม เป็นองค์รวมทั้งกายจิต และสังคม

รูปแบบการดำเนินการสร้างเครือข่าย

  1. ให้ความรู้ผ่านการอบรมแก่บุคลากรพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล

  2. สนับสนุนจัดตั้งคณะกรรมการไตจังหวัดร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารจัดการทั้งจังหวัด

  3. พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ และกระจายหน่วยบริการไปยังโรงพยาบาลอำเภอ

  4. ติดตามการดำเนินการและสนับสนุนเพื่อให้โรงพยาบาลขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการ

  5. เข้าร่วมเป็นสถาบันสมทบในการฝึกปฏิบัติแก่พยาบาลเฉพาะทางทั่วประเทศ

  6. พัฒนาเพื่อเป็นสถาบันหลักในหลักสูตร พยาบาลเฉพาะทางการล้างไตทางช่องท้อง

  7. สร้างเครือข่ายผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้ายผ่านจิตอาสา

ลักษณะการดำเนินการเครือข่าย

          CAPD ACTIVITIES กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายในโรงพยาบาล

  1. จัดอบรมพยาบาลในโรงพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย CAPD หลักสูตร 2 วัน

  2. จัดอบรมต่อเนื่องเพื่อเพิ่มทักษะการดูแลของพยาบาลประจำหอผู้ป่วยหลักสูตร 1 สัปดาห์

  3. อบรมพยาบาลเพิ่มเพื่อให้มีความรู้และทักษะ หลักสูตร1วันเป็นระยะ 1-2 ครั้งต่อปี

  4. พัฒนาระบบพยาบาลผู้จัดการรายกรณี ในหอผู้ป่วย และใช้ระบบการปรึกษาและเยี่ยมผู้ป่วย

  5. จัดโครงการ พยาบาลเครือข่ายเพื่อช่วยเหลือให้การดูแลผู้ป่วยในวันนัดตรวจ 1 ครั้ง/สัปดาห์

กิจกรรมพัฒนาเครือข่ายนอกโรงพยาบาล

  1. ร่วมมือกับ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลอำเภอจัดตั้งกรรมการไตจังหวัด เพื่อควบคุมดูแลคุณภาพการรักษาให้ได้มาตรฐาน

  2. จัดอบรมเจ้าหน้าที่ พยาบาลสถานพยาบาลปฐมภูมิ ปีละ 3 รุ่น ๆ ละ 50-60 คน หลักสูตร 2 วัน ตั้งแต่ปี 2552-2554

  3. ขยายการอบรมเป็นหลักสูตร 1 เดือนสำหรับโรงพยาบาลอำเภอที่มีความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย ระยะแรกมี 5 แห่ง

  4. เป็นสถาบันสมทบ กับสภากาชาดไทยและ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ในการเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติพยาบาลหลักสูตร CAPD ปีละ 1 รุ่นๆละ 7-8 คน เพื่อขยายการบริการให้ทั่วประเทศ พร้อมรองรับผู้ป่วยให้เข้าถึงบริการ

  5. เป็นสถาบันหลักรับรองจากสภาการพยาบาล สอนหลักสูตรเฉพาะทางการพยาบาลผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้อง หลักสูตร 4 เดือน

  6. ดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติการเยี่ยมบ้าน และการส่งต่อผู้ป่วย ร่วมกับโรงพยาบาลอำเภอและ รพสต.

  7. ดำเนินการให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงแก่โรงพยาบาลในลักษณะ แม่ข่าย-ลูกข่าย เช่น โรงพยาบาลสารภี

  8. จัดอบรม ศัลยแพทย์ และอายุรแพทย์ โรคไต ในการฝึกทักษะในเรื่องการวางสายล้างไตทางช่องท้องร่วมกับสำนักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า

  9. จัดอบรมแพทย์จากโรงพยาบาลในเขต 8 จังหวัดภาคเหนือเพื่อให้มีความรู้เฉพาะทางในการให้การรักษาผู้ป่วย CAPD

สรุป  การดำเนินพัฒนาเครือข่ายปัจจุบันยังดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โรงพยาบาลเครือข่ายได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนเป็นหน่วยบริการเพิ่มขึ้น เช่น รพ.สารภี และ รพ.ฝาง นอกจากโรงพยาบาลที่มีอยู่เดิม คือ รพ.จอมทอง และ รพ.สันป่าตอง ทำให้จังหวัดเชียงใหม่สามารถให้บริการมากขึ้นและผู้ป่วยเข้าถึงบริการครอบคลุมใกล้บ้านมากขึ้น ปัจจุบันการพัฒนาได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องและยังคงต้องการการพัฒนาด้านคุณภาพในการรักษาและบริการอย่างต่อเนื่องต่อไป

bottom of page